News

ข้อดี/ข้อเสียหลังการปลดล็อก “พืชกระท่อม”

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

kratom

ข้อดี/ข้อเสียและประโยชน์ทางการแพทย์หลังการปลดล็อก “พืชกระท่อม”

“พืชกระท่อม (Kratom Plant)” เป็นพืชที่พบมากทางใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงเขตชายแดน เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้โดยไม่เมื่อยล้า โดยเฉพาะกลุ่มทำสวน, ทำนา พืชกระท่อมถูกกำหนดว่าผิดกฎหมาย ห้ามนำมาปลูก, ครอบครองเป็นเวลานาน มีการผลักดันให้ปลูกได้มาเกือบศตรรษ

กฎหมาย “พืชกระท่อม (Kratom Plant)” ผ่านสภา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ยังไม่สามารถปลูกเสรีได้ จนกว่าจะมี ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 พ.ค. 2564 และจะมีผลใน 90 วันนับจากประกาศ หรือ มีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไปนั้นเอง


ยกเลิกเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5

  • ในวันที่ 26 พ.ค. ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564
  • ใจความสำคัญ คือ โดยที่ปัจจุบัน “พืชกระท่อม (Kratom Plant)” เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ทั้งๆที่หลายประเทศมิได้กำหนดให้ พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษแต่อย่างได
  • เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ ที่มีการบริโภคพืชกระท่อม ตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทใด

 

  ราชกิจจาฯ ประกาศปลดล็อกฉบับเต็มอ่านได้ที่ “ราชกิจจานุเบกษา”

หลังราชกิจจาฯ ประกาศยังไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายทันที แต่จะมีผล 90 วันหลังจากประกาศ หรือ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 หลังจากนั้นกระท่อมจะเป็นพืชไม่ผิดกฎหมาย

ปลดล็อก กระท่อม (kratom)


“กระท่อม” พืชไม่ผิดกฎหมาย

  • สามารถรับประทานใบสดและต้มขายได้
  • ห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น เช่น พวก สารเสพติดชนิด 4x100
  • ห้ามจำหน่ายให้เยาวชน

ทั้งนี้ เพราะ “ใบกระท่อม (Kratom leaves)” เป็นสารตั้งต้นสำคัญของยาเสพติด “สี่คูณร้อย” โดยผสมน้ำกระท่อมต้มร่วมกับสารอื่นๆ เช่น ยาแก้ไอ เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น บ่อยครั้งกระตุ้นให้ลองยาเสพติดชนิดอื่นที่แรงขึ้น ทำให้การนำกระท่อมไปผสมร่วมกับยาเสพติดอื่นเป็นข้อห้ามและผิดกฎหมาย ถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3

 

  ผลกระทบของการยกเลิก “พืชกระท่อม” ออกจากยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ


ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

  ผลกระทบด้านดี

  • พืชกระท่อมมีอยู่มากมายในประเทศไทย ดังนั้น สามารถนำพืชกระท่อมมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
  • ใช้ทำยาสมุนไพรรักษาโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณ เช่น ช่วยระงับอาการไอ, ระงับอาการปวดฟัน, ระงับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, รักษาโรคเบาหวาน, รักษาอาการปวดประจำเดือน,ท้องร่วง, กล่อมประสาท, สมานแผลในปาก, ห้ามเลือด, ลดความดัน, แก้พิษจากพืชและสัตว์
  • เนื้อไม้นำมาสร้างอาคารบ้านเรือน, เฟอร์นิเจอร์
  • สามารถสกัดเอาสารอัลคาลอยด์ที่พบในพืชกระท่อม ประมาณ 40 ชนิด มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างมากมาย เช่น ใช้ระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน, ขยายหลอดเลือด, ลดความดันและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับประเทศ
  • ลดการสูญเสียเงินตราในการสั่งซื้อมอร์ฟีนจากต่างประเทศ ถ้าสามารถนำพืชกระท่อมมาใช้ทดแทนได้

  ผลกระทบด้านเสีย

  • ไม่ปรากฎ

ผลกระทบด้านสังคมและสาธารณสุข

  ผลกระทบด้านดี

  • ใช้ใบกระท่อมทดแทนการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงกว่าได้ ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดีขึ้น
  • เมื่อบริโภคแล้วจะทำงานได้มากกว่ากรณีปกติทั่วไปและไม่ปรากฏว่าเป็น “ผู้ก้าวร้าวหรืออาชญากร” แต่อย่างใด ซึ่งตรงข้ามกับผู้เสพสุราหรือยาบ้า
  • ประชาชนผู้บริโภคพืชกระท่อมแล้วทำงานจะเกิดความรู้สึกที่ดีและได้รับความเป็นธรรมและยอมรับจากสังคม
  • เมื่ออารยประเทศต่าง ๆ ไม่ได้มีการควบคุมพืชกระท่อมเลย ดังนั้นการที่ประเทศไทยไม่ควบคุมก็ไม่เสียหายต่อชาวโลกเช่นกัน

  ผลกระทบด้านเสีย

  • ปากแห้ง, ปัสสาวะบ่อย, เบื่ออาหารและท้องผูก
  • เมื่อบริโภคไปนาน ๆ อาจทำให้ติดได้ เมื่อไม่ได้บริโภคจะรู้สึกไม่มีแรง, ซึมเศร้า, นอนไม่หลับ, เบื่ออาหาร บางรายก้าวร้าวแต่เป็นมิตร (Hostility) อย่างไรก็ตามไม่เคยปรากฏว่ามีคนเสียชีวิตหรือทำร้ายผู้อื่นจากการบริโภคพืชกระท่อม

ผลกระทบด้านการเมือง

  ผลกระทบด้านดี

  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับรัฐบาลได้หากพิสูจน์และชี้แจงให้ประชาชนเห็นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมว่า “พืชกระท่อม (Kratom Plant)” จริง ๆ แล้วไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษอย่างแท้จริง เมื่อเทียบกับสุราหรือบุหรี่ และการนาพืชกระท่อมไปบริโภคจะมีผลดีต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่า
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับระบบการเมืองเพราะสามารถแก้ปัญหาพืชกระท่อมได้ โดยระบบรัฐสภาและนำไปสู่ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบการเมืองมากขึ้น
  • ลดภาระหน้าที่และงบประมาณจำนวนมากที่รัฐจะต้องใช้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดความเกี่ยวกับ “พืชกระท่อม”

  ผลกระทบด้านเสีย

  • หากพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในทางมิชอบจะทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมและส่งผลต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาล
  • อาจเกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดในวงกว้าง ซึ่งอาจพัฒนาเป็นความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจาก “รัฐประกาศสงครามกับยาเสพติดแตกหัก”

ผลกระทบด้านกฎหมาย

  ผลกระทบด้านดี

  • ไม่มีประเทศใดในโลก และ UN ก็ไม่ควบคุม “พืชกระท่อม” ให้เป็น ยาเสพติด
  • การควบคุม “พืชกระท่อม” ตามกฎหมายมาจากสาเหตุ “ภาษี” ที่รัฐจัดเก็บจาก “ฝิ่น” ได้น้อยลง เพราะมีการเสพกระท่อมแทน
  • การออก “พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. ๒๔๘๖” รัฐอ้าง “เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน” โดยไม่มีการศึกษาวิจัยถึงผลดีและผลเสีย ของการบริโภคพืชกระท่อมเลย
  • ลดปริมาณคดียาเสพติดและภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่, ตำรวจ, อัยการ และศาล ได้ในระดับหนึ่งที่จะต้องไปเสียเวลากับการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับพืชกระท่อม

  ผลกระทบด้านเสีย

  • ยังไม่ปรากฎ

ผลกระทบทางด้านวิชาการ

  • หากประเทศไทยยังกำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดต่อไปในอนาคต การที่จะนำพืชกระท่อมมาศึกษาหรือวิจัย จะต้องไปขออนุญาตจากต่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศได้จดลิขสิทธิ์ไปแล้ว ดังเช่น หญ้าเปล้าน้อย

ในเบื้องต้น การปลูก “กระท่อม (kratom)” จะไม่ซับซ้อน ไม่ต้องขอใบอนุญาติ เหมือนกรณีของ “กัญชง (hemp)” เพียงแต่ห้ามจำหน่ายให้เยาวชนและนำไปผสมกับสารชนิดอื่น ทั้งนี้ประชาชนที่สนใจปลูกในครัวเรือน ควรติดตามความคืบหน้ากันจนกว่าจะถึงวันที่ปลดล็อคเต็มที่ สำหรับกฎหมายและข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกกระท่อมในครัวเรือน ติดตามข่าวสารและความคืบหน้าจากหน่วยงานต่างๆ กันต่อไป

 

    ขอบคุณข้อมูลจาก

  รายงานการศึกษาเรื่อง “ผลดีและผลเสียของการบริโภคพืชกระท่อม เพื่อเป็นแนวทางในการเสนอว่าควรยกเลิกพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือไม่”

  ยกเลิก “พืชกระท่อม” - สำนักงานกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

  คุยเฟื่องเรื่องกระท่อม - สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม


หากมีข้อสงสัยหรือคำถาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่...

  Line Official id.: @Kratom
  Messenger: m.me/ThaiKratomFarm
  Facebook: fb.me/ThaiKratomFarm
  www.instagram.com/ThaiKratomFarm
  Youtube.com/KratomFarm
  Email : ThaiKratomFarm@gmail.com
  www.ThaiKratomFarm.com

Search

ปฏิทินกระท่อม

 

ไลน์ “ออฟฟิเชียล”

Line OA kratomadd-line

คลิกเพื่อโทร.

Hemp Cannabis Call Center

shopee

กระท่อมชนิดเม็ด

กระท่อมสกัดชนิดเม็ด (Red Hippo Kratom Lite Tab)

Thai Kratom Farm

"ไทย กระท่อม ฟาร์ม"

เว็บไซด์จำหน่ายผลิตภัณฑ์สารสกัดจากกระท่อม (Kratom Extract) จากผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาติถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการผลิตกระท่อมเกรดอุตสาหกรรม (Industrial Kratom) ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมืออันทันสมัยเพื่อผลิตกระท่อมเป็นยาและเวชภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

Quote

  •  เภสัชกร

    "การนำกระท่อมมาใช้ประโยชน์ คิดว่ามีความจำเป็นของประเทศ นำไปสู่การวิจัยพัฒนา เพราะก่อนวัฒนธรรมการใช้จะถูกลืมโดยสิ้นเชิง"

    ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร

  • 1
  • 2
  • 3

Contacts

  ThaiKratomFarm@gmail.com

   094-916-9456

  Line OA : @Kratom

   2-3 ม.12 ถ.รามคำแหง 166
     เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

Follow us